พรีเซนต์ โดย นายธีรภัทร นาทันดอน
เลขที่ 3 ม.6/4
สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโปรติสตา เรียกรวม ๆ ว่า กลุ่มโปรติสต์ ลักษณะของสิ่งมีชีวิต
ในอาณาจักรโปรติสตา คือ อาณาจักรโปรติสตา แบ่งได้เป็น 1 ไฟลัมและ 8 ดิวิชัน คือ | ||||||||||
1. ไฟลัมโปรโตซัว (Phylum Protozoa)
| ||||||||||
โปรโตซัวชนิดต่าง ๆ
ที่มา http://www.geocities.com/sumpan2000_th/unit_3/sa_1 /protista/Protozoa.gif | ||||||||||
โปรโตซัวเป็นโปรติสต์เซลล์เดียวที่มีลักษณะคล้ายสัตว์ในตอนแรกจึงถูกจัดอยู่ใน
อาณาจักรสัตว์มีลักษณะสำคัญดังนี้ 1. เป็นเซลล์เดียวบางชนิดเป็นเซลล์อยู่เดี่ยว ๆ บางชนิดรวมกันเป็นกลุ่ม (colony) มีขนาดเล็กต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ 2. ไม่มีอวัยวะหรือเนื้อเยื่อใด ๆ มีออร์กาแนลทำหน้าที่ต่าง ๆ ในเซลล์ 3. มีเซลล์เมมเบรนเป็นกรอบของเซลล์บางชนิดมีโครงแข็งหุ้มเป็นสารพวก เซลลูโลส หรือเจลาติน 4. ขับถ่ายของเสียที่เป็นของเหลว โดยคอนแทรกไทล์ แวคิวโอล นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่ ควบคุมสมดุลน้ำภายในเซลล์ด้วยจึงเรียกคอนแทรไทล์ของโปรโตซัว ว่าเป็น ออสโมเรกูเลเดอร์ (osmoregulator) 5. การดำรงชีวิตมีทั้งที่หากินเป็นอิสระในน้ำเน่า เช่น อะมีบา สังเคราะห์ด้วยแสง สร้าง อาหารได้เอง เช่น ยูกลีนา เป็นปรสิต เช่น เชื้อไข้จับสั่น 6. การสืบพันธุ์ ตามปกติจะสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศ คือการแบ่งตัวจาก 1 เป็น 2 นอกจากนี้ยังมีการสืบพันธุ์แบบมีเพศ คือการเข้าจับคู่กันหรือการคอนจูเกชัน (conjugation) 7. การเข้าเกราะ (encystment) พบในโปรโตซัวหลายชนิด เช่นยูกลีนา จะเข้าเกราะเมื่อ สิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม 8. รูปร่างมีหลายแบบ ส่วนใหญ่เป็นรูปไข่ ยาวรี หรือมีรูปร่างไม่แน่นอน 9. อวัยวะเคลื่อนที่ของโปรโตซัวในแต่ละกลุ่มจะแตกต่างกัน ซึ่งจะนำมาใช้ในการ แบ่ง หมวดหมู่ระดับคลาส เช่น มีแฟลกเจลลา ซีเลีย เป็นต้น ไฟลัมโปรโตซัว แบ่งออก เป็น 4 คลาส คือ 1. คลาสแฟลกเจลลาตา (Class Flagellata) เคลื่อนที่โดยใช้แฟลกเจลลัม ซึ่งอาจมีมากกว่า 1เส้น มีทั้งพวกที่ดำรงชีวิตเป็นอิสระและเป็นปรสิต อาศัยอยู่ทั้งในน้ำ จืดและน้ำเค็ม พวกที่เป็นปรสิต ได้แก่ พวกที่ทำให้เกิดเป็นโรคเหงาหลับคือ ทริปาโน โซมา (Trypanosoma) | ||||||||||
| ||||||||||
3.คลาสซีเลียตา (Class Ciliata) เคลื่อนที่โดยใช้ซิเลีย (cilia)มีทั้งที่ดำรงชีพ
อย่างอิสระและเป็นปรสิตโดยทั่วไปมีนิวเคลียส 2 ขนาด คือนิวเคลียสขนาดใหญ่ เรียกว่า มาโครนิวเคลียส (Macronucleus)นิวเคลียสขนาดเล็กเรียกว่า ไมโครนิวเคลียส ( Micronucleus) เช่น พารามีเซียม ( Paramicium ) | ||||||||||
| ||||||||||
4.คลาสสปอโรซัว (Class Sporozoa) พวกนี้ไม่มีอวัยวะที่ใช้ในการเคลื่อนที่ ดำ
รงชีวิตเป็นปรสิต สืบพันธุ์โดยการสร้างสปอร์ และรวมตัวกันคล้ายการสืบพันธุ์แบบอา ศัยเพศ เช่น พลาสโมเดียม (Plasmodium) ซึ่งเป็นเชื้อมาเลเรีย | ||||||||||
ดิวิชัน คลอโรไฟตา (Division Chlorophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้มีชื่อเรียกทั่วไป
ว่า สาหร่ายสีเขียวจัดเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด พบทั้งในน้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อย บางชนิด ลอยตามผิวน้ำ บางชนิดเกาะกับ พืชอื่นหรือก้อนหิน บางชนิดอาศัยอยู่ในเซลล์สิ่งมีชีวิต อื่นเช่น ในโปรโตซัว ไฮดรา หรือฟองน้ำ ในแหล่งน้ำธรรมชาติ บางครั้งจะพบว่าน้ำมีสี เขียวเข้ม เกิดขึ้น สีเขียวดังกล่าวคือ สาหร่ายในกลุ่มนี้เป็นส่วนใหญ่ | ||||||||||
สาหร่ายสีเขียวชนิดต่าง ๆ
| ||||||||||
สาหร่ายในดิวิชันแคโรไฟตา
| ||||||||||
ดิวิชัน ฟีโอไฟตา (Division Phaeophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้มีชื่อเรียกทั่วไปว่า สา
หร่ายสีน้ำตาล เนื่องจากภายในเซลล์ของสาหร่ายกลุ่มนี้มี รงควัตถุพวกฟูโคแซนทิน (fucoxanthin) ที่ทำให้เกิดสีน้ำตาลมากกว่ารงควัตถุอื่น สาหร่ายในกลุ่มนี้มีประโยชน์ ทางเศรษฐกิจมาก คือ บางชนิด ใช้เป็นอาหารโดยตรง ซึ่งนิยมรับประทานกันในยุโรป บางชนิดนำมาสกัดสารประกอบพวกแอลจิน (algin) เพื่อใช้ทำสี ทำยา และขนมหวาน บางชนิด | ||||||||||
ไดอะตอมชนิดต่าง ๆ
| ||||||||||
สาหร่ายในดิวิชันไพร์โรไฟตา
| ||||||||||
ดิวิชัน
โรโดไฟตา (Division Rhodophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้มีชื่อเรียกทั่วไปว่า
สาหร่ายสีแดง มีประโยชน์ต่อมนุษย์เช่นเดียวกับสาหร่ายสีน้ำตาล
เนื่องจากสารเมือก
ที่สกัดออกจาก ผนังเซลล์เรียกว่า คาร์แรจีแนน (carrageenan) นำมาผลิตเป็นวุ้นได้ นอกจากนี้สาหร่ายสีแดง ยังนำมาประกอบ เป็นอาหารโดยตรงที่ทุกคนรู้จักกันดีในชื่อ “จีฉ่าย” | ||||||||||
สาหร่ายสีแดง
| ||||||||||
ดิวิชันมิกโซไมโคไฟตา
( Division Myxomycophyta) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะ เป็นเมือก ข้นสีขาว
สีเหลืองหรือสีส้ม อาศัยอยู่ในบริเวณชื้นเเฉะ เช่น กองไม้ผุ ตาม
พื้นดินร่มชื้น เช่นเดียวกับเห็ดรา ส่วนใหญ่ดำรงชีพเเบบภาวะมีการย่อยสลาย เเต่ก็มี บางชนิดเป็นปรสิต ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตได้เเก่ พวกราเมือก ( Slime mold ) | ||||||||||
ราเมือก
| ||||||||||
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น